รับเหมาตกแต่งภายใน
Category

ทำความรู้จัก “ผู้รับเหมาตกแต่งภายใน” อาชีพน่าสนใจของคนมีฝือมือ

                การตกแต่งภายในบ้าน ถ้าเป็นการขยับเฟอร์นิเจอหรือทาสีเพียงเล็กน้อย เจ้าของบ้านจะสามารถลงมือทำเองได้ไม่ยาก แต่ถ้าต้องรื้อผนัง เปลี่ยนวอลเปเปอร์ทั้งหลัง หรือติดตั้งเฟอร์นิเจอร์บิ้วอิน คงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป จำเป็นต้องมี “ผู้รับเหมาตกแต่งภายใน” มาช่วยทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ว่าแต่จริง ๆ แล้ว อาชีพนี้คืออะไร มีลักษณะแบบไหน มาหาคำตอบที่บทความนี้กันได้เลย

ความหมายที่ควรรู้

ผู้รับเหมา (Contractor) คือ บุคคลที่รับจ้างก่อสร้างอาคารหรือสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยวิธีเหมา ส่วนตกแต่งภายใน (Interior Design) คือ การจัดและตกแต่งสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้เกิดความสะดวกสบายในด้านประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม ดังนั้นผู้รับเหมาตกแต่งภายใน จึงหมายถึงบุคคลที่รับจ้างตกแต่งสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้มีประโยชน์และสวยงามขึ้นกว่าเดิม โดยวิธีเหมาจ่ายนั่นเอง

ประเภทของผู้รับเหมา

ประเภทบุคคลธรรมดา

เป็นประเภทที่เห็นได้ทั่วไป สามารถเรียกใช้บริการได้ง่ายในราคาที่จ่ายสบาย ๆ อยู่ได้ด้วยประสบการณ์ ฝีมือคุณภาพ และการบอกต่อของลูกค้า อาจจะจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่จดก็ได้ แต่ถ้าจดทะเบียนก็จะมีข้อดีในการสร้างความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงเรื่องรายรับ รายจ่าย และภาษี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาการให้สินเชื่อในอนาคต

ประเภทนิติบุคคล

ผู้รับเหมาตกที่มีเจ้าของหรือผู้ลงทุนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จดทะเบียนร่วมกันเป็นนิติบุคคล ด้วยลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ใช้กับผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิจัดการกับกิจการและแบ่งปันกำไรจากกิจการได้ แต่ต้องร่วมกันรับผิดชอบหนี้สินของกิจการอย่างไม่จำกัด

ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ต้องมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยความรับผิดชอบของหุ้นส่วน จะแบ่งเป็นแบบ “จำกัด” คือ รับผิดในหนี้สินกิจการไม่เกินจำนวนเงินลงทุนของตน จะไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจในกิจการ แต่มีสิทธิ์สอบถามการดำเนินงานของกิจการ และแบบ “ไม่จำกัด” ความรับผิดในหนี้สินของกิจการ คือ รับผิดในหนี้สินทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากกิจการ โดยจะมีสิทธิตัดสินใจในกิจการได้อย่างเต็มที่

ขอบเขตหน้าที่

                ผู้รับเหมาประเภทบุคคลจะมีทำได้แบบมัลติฟังก์ชัน ทั้งออกแบบและลงมือทำหน้างาน ซึ่งอาจมีลูกจ้างชั่วคราวมาช่วยงานบ้าง แต่ถ้าเป็นผู้รับเหมาตกแต่งภายในแบบนิติบุคคลนั้น มักจะมีส่วนต่าง ๆ แยกกัน ได้แก่ มัณฑนากร (Interior designer) คือ นักออกแบบและวางแผนเกี่ยวกับการตกแต่งภายใน สถาปนิก (Architect) คือ ผู้ออกแบบและดูแลการก่อสร้าง และทีมช่างก่อสร้าง (Construction Worker team) ที่เป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการก่อสร้างหรือลงมือปฏิบัติตามแผนการของมัณฑนากรและสถาปนิกวางไว้

ซึ่งการมีบุคลากรที่ครอบคลุมจะช่วยให้งานดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย เพราะแต่ละหน้าที่มีทักษะที่ต่างกันไป ถึงจะช่วยงานกันได้ แต่น้อยกรณีนักที่จะทดแทนกันได้แบบสมบูรณ์ ซึ่งเจ้าของบ้านที่อยากตกแต่งที่อยู่อาศัยของตัวเอง อาจเอาการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนนี้มาช่วยตัดสินใจในการเลือกผู้รับเหมาตกแต่งภายในด้วยก็ได้

ข้อกฎหมายก็ควรรู้

                ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งภายในหรือภายนอก เรื่องที่ควรมองควบคู่ไปกับเรื่องหน้างานคือ “กฎหมาย” เพราะประเทศไทยมีกฎระเบียบ ข้อบังคับเข้ามาเกี่ยวข้องค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นบุคลากรในวงการรับเหมาตกแต่งภายใน นอกจากจะมีฝีมือการทำงานแล้ว จะมีความรู้ทางกฎหมายด้วย ถือว่ายอดเยี่ยมทั้งศาสตร์และศิลป์

                โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภายใน เช่น กฎหมายควบคุมอาคาร กฎกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญา เป็นต้น

                จะเห็นได้ว่าอาชีพผู้รับเหมาตกแต่งภายในจะมีทักษะในการดำเนินงานและความรับผิดชอบที่หลากหลาย ซึ่งอาจเกินกว่ากว่าที่หลายคนเคยคิดไว้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมอาชีพนี้ถึงมีค่าตอบแทนที่สูง สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากใช้บริการผู้รับเหมา อาจต้องนำเอาเรื่องราวเหล่านี้ไปพิจารณาร่วมด้วย เพื่อให้เข้าใจถึงความเหมาะสมของค่าบริการมากขึ้น